More

    หาคำตอบ! BEV, PHEV, HEV, MHEV, FCEV ตัวย่อพวกนี้หมายถึงอะไรในรถยนต์ไฟฟ้า?

    ณ ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้านั้นได้ถาโถมเข้าสู่ตลาดราวกับน้ำป่าหลากเลยทีเดียว ไม่ช้าก็เร็วยานยนต์เหล่านี้ก็น่าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับตัวย่อต่างๆ ที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของรถยนต์ไฟฟ้าคันนั้นๆ กัน

    • HEV

    HEV หรือ Hybrid Electric Vehicle เป็นประเภทยานยนต์ไฟฟ้าที่เราน่าจะมักหน้าคุ้นตามากที่สุด เพราะมันเป็นประเภทแรกๆ ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศ ตัวอย่างที่ชัดเจนของรถยนต์ประเภทนี้คือ Toyota Prius ซึ่งมันใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กสนับสนุนกำลังของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภายใต้สภาวะที่เราไม่ต้องการกำลังเครื่องยนต์มาก หรือการออกตัวรถในช่วงต้น จะมีเพียงไฟฟ้าเท่านั้นที่ถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนรถ

    ตัวแบตเตอรี่นั้นสามารถที่จะชาร์จไฟได้เองจากพลังงานที่สร้างขึ้นมาจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือจากการดึงพลังงานกลับจากการใช้เบรก

    HEV, PHEV

    • PHEV

    PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) มีความคล้ายคลึงกับ HEV ค่อนข้างมาก แตกต่างกันเพียงแต่ว่า PHEV นั้นสามารถที่จะเลือกขับเคลื่อนได้ทั้งเชื้อเพลิงล้วน, ไฟฟ้าล้วน, หรือใช้การขับเคลื่อนผสมผสาน นอกจากนั้นมันยังสามารถที่จะเสียบชาร์จไฟจากสถานีชาร์จเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า

    Toyota Prius Prime คือตัวอย่างของรถยนต์ประเภทนี้ มันสามารถที่จะใช้พลังไฟฟ้าล้วนวิ่งได้ 40 km และเพิ่มขึ้นเป็น 1,035 km เมื่อใช้การวิ่งแบบผสมผสาน และมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1.8 Le/100 km

    • MHEV

    อีกหนึ่งระบบไฮบริดที่ริเริ่มจากทางยุโรป MHEV หรือ Mild Hybrid มีการทำงานที่แทบจะถอดแบบมาจาก HEV เลย เพียงแต่มันไม่สามารถทำงานแยกจากเครื่องยนต์ได้ และมีหน้าที่เพียงเสริมกำลังให้กับเครื่องยนต์เท่านั้น

    • BEV

    Battery Electric Vehicle หรือ BEV คือรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ไม่มีถังเชื้อเพลิง หรือแม้แต่ท่อไอเสีย มันเป็นรถที่มีข้อดีในเรื่องของการเป็นมิตรกับสภาพอากาศจากการที่มันปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ แต่เจ้าของรถอาจจะต้องไปกังวลกับเรื่องระยะทางการวิ่งแทน เนื่องจากในบ้านเรานั้นยังมีสถานีชาร์จที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

    การชาร์จไฟนั้นรถประเภทนี้สามารถทำการชาร์จได้ทั้งไฟบ้าน ซึ่งอาจจะต้องมีการติดตั้งและดัดแปลงอุปกรณ์เพิ่มเติมเล็กน้อย และไฟจากสถานีชาร์จ ระยะทางวิ่งนั้นทำได้ตั้งแต่ประมาณ 100 – 600 km ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ที่ถูกติดตั้งมาบนรถ

    • FCEV

    น้องใหม่ล่าสุดในตระกูลยานยนต์ไฟฟ้า Fuel Cell Electric Vehicle หรือ FCEV ใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานซึ่งจะบีบอัดมันจนกลายเป็นของเหลว เมื่อไฮโดรเจนถูกรวมเข้ากับอากาศภายในเซลล์เชื้อเพลิง มันจะเกิดปฏิกิริยาขับเคลื่อนให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงาน

    FCEV

    เช่นเดียวกับ BEV รถประเภทนี้จะไม่มีเสียง ปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ แต่ยังคงต้องมีถังบรรจุไฮโดรเจนซึ่งสามารถเติมเต็มได้ภายในไม่ถึงนาที

    คำศัพท์ที่คุณควรรู้

    • Le/100 km – ในรถเครื่องยนต์สันดาปนั้นจะมีการวัดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหน่วยเป็น ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือ L/100 km แต่ในกรณีของ EV ซึ่งไม่มีการใช้เชื้อเพลิง จึงได้มีหน่วยใหม่ขึ้นมาเป็น ลิตรเทียบเท่า หรือ Le/100 km โดยจะเป็นการวัดค่าการใช้พลังงานในหน่วย kWh/100 km แล้วเปลี่ยนให้เป็น Le/100 km ซึ่ง 1 ลิตรของการใช้เชื้อเพลิงจะเทียบเท่ากับ 8.9 kWh ของการใช้ไฟฟ้า
    • การดึงพลังงานกลับจากการเบรก (Regenerative Brake) – เมื่อรถของเรากำลังชะลอความเร็วลงโดยการเบรก พลังงานจลน์จากการเบรกจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานของจานเบรก แทนที่จะสูญเสียพลังงานกลายเป็นความร้อน Regenerative Brake จะกู้คืนพลังงานที่เสียไปตรงนี้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่แทน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีส่วนทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่มีระยะทางการวิ่งที่ไกลขึ้น

    อ้างอิง : openroadautogroup.com

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts