More

    ต้องดู!!! หลักเกณฑ์การตั้งชื่อและเลือกทะเบียนรถด้วยตัวเอง

    เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดตัวอักษรประจำหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการระยะเวลาและเงื่อนไขการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของแผ่น “ป้ายทะเบียนรถยนต์” ที่มีลักษณะพิเศษสำหรับรถยนต์ นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน พ.ศ.2565 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

    ราชกิจจานุเบกษา

    “แผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ” อนุญาตให้ใช้ตัวอักษรมากกว่า 2 ตัว ตัวอักษร ผสมสระ วรรณยุกต์ ตัวเลข ในแผ่นป้ายทะเบียน ในรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีไม่เกิน 7 ที่นั่งได้ ทำให้สามารถใช้ชื่อบุคคล ชื่อตัวเอง และตัวเลขที่ชอบเป็นทะเบียนรถได้

    การกำหนดตัวอักษรประจำหมวดของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนที่มีตัวอักษรประจำหมวดมากกว่าสองตัว หรือมีตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

    1.ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถเปิดให้ประชาชนเสนอตัวอักษร หรือตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์เป็นคำหรือข้อความที่จะใช้กับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษหรือจะเสนอโดยสำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนก็ได้

    2.ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถนำตัวอักษร คำหรือข้อความตาม ข้อ 1 ที่จะใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดออกเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือรับฟังความคิดเห็นตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด

    3.เมื่อดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตัวอักษร คำหรือข้อความที่จะใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดแล้ว ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นแล้วนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกตัวอักษร คำหรือข้อความที่จะเสนอนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรออกประกาศเป็นตัวอักษรประจำหมวดสำหรับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ

    การพิจารณาคัดเลือกตัวอักษร คำหรือข้อความที่จะใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

    • ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น ข้อความที่พ้องหรือมุ่งหมาย ให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม เป็นต้น
    • ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีของประชาชน หรือเสียดสีสังคมหรือบุคคล หรือไม่เป็นคำ หรือข้อความที่สื่อความหมายส่อไปในทางลามกอนาจาร หรือหยาบคาย เช่น คำผวน คำแสลง เป็นต้น
    • ไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทย หรือขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ เช่น ข้อความที่สนับสนุนให้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้น
    • ไม่ขัดความเชื่อทางศาสนา หรืออาจเป็นประเด็นข้อขัดแย้งทางศาสนา เช่น ข้อความล้อเลียนศาสดาหรือผู้นำทางศาสนา เป็นต้น
    • ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ข้อความที่ส่อไปในทางดูหมิ่น ดูถูก ประชาชนของประเทศอื่น เป็นต้น
    • ไม่ละเมิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น ข้อความดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น
    • ไม่เป็นคำหรือข้อความที่ไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวด
    • ตัวอักษร คำหรือข้อความเมื่อนำไปใช้กับหมายเลขทะเบียนเมื่อนับรวมกันในแนวนอนทั้งตัวอักษร สระและหมายเลขทะเบียน จะต้องไม่เกิน 7 ตัว

    ในการพิจารณาคัดเลือกตัวอักษร คำหรือข้อความ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

    • กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกตัวอักษร คำหรือข้อความที่จะใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดสำหรับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่กำหนด
    • ให้ความเห็นชอบตัวอักษร คำหรือข้อความที่ใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดสำหรับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ
    • รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเพื่อทราบในการพิจารณาคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการทรงสิทธิไว้ในการให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบตัวอักษร คำหรือข้อความตามที่เห็นสมควร มติของคณะอนุกรรมการให้ถือเป็นที่สุด
    • ตัวอักษร คำหรือข้อความที่คณะอนุกรรมการเห็นชอบให้ใช้เป็นตัวอักษรประจำหมวดสำหรับแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ ให้สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถนำเสนอนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรออกประกาศกำหนดตัวอักษรประจำหมวดสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

    อ่านราชกิจจานุเบกษา ฉบับเต็ม คลิก


    อ่านบทความอื่น ๆ 

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts